รายงานใหม่สหประชาชาติชี้ “หนี้สาธารณะ” ท่วมโลก ทุบสถิติใหม่

องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ที่พบว่า ในปี 2022 ที่ผ่านมา ทั่วโลกมีหนี้สาธารณะรวมกันเกินกว่า 90 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 3,000 ล้านล้านบาท สูงสุดเป็นสถิติใหม่

โดยประเทศกำลังพัฒนาเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดเนื่องจากมีสัดส่วนหนี้สาธารณะสูงถึง 60% ของขนาดเศรษฐกิจ ซึ่งอาจกระทบต่อการจัดสรรงบประมาณดูแลประชาชน แม้ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินโลกในภาพรวม

อันโตนิโอ กูเตอร์เรซ เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวกับผู้สื่อข่าวในวันอังคาร (11 ก.ค.) ระหว่างแถลงเปิดเผยรายงาน A World of Debt ว่า “ประชากรราว 3,300 ล้านคนหรือเกือบครึ่งหนึ่งของมนุษย์โลกอาศัยอยู่ในประเทศที่ใช้ชำระหนี้กู้ยืมขนานใหญ่มากกว่าทุ่มงบประมาณไปกับการศึกษาหรือสาธารณสุข แต่เนื่องจากภาระหนี้ที่ไม่ยั่งยืนเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในประเทศยากจน จึงไม่ถือเป็นกลุ่มที่สร้างความเสี่ยงต่อระบบการเงินโลกในภาพรวมคำพูดจาก สล็อต777

รายงานฉบับนี้ ชี้ว่าหนี้สาธารณะของประเทศต่างๆทั่วโลกในปี 2022 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 92 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3,000 ล้านล้านบาท โดยมีสาเหตุจากการที่รัฐบาลต้องกู้ยืมเงินเพื่อรับมือกับวิกฤตต่าง ๆ เช่นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

โดยประเทศกำลังพัฒนา 59 ประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับระดับหนี้ต่อจีดีพีที่ 60% หรือสูงกว่านั้น เพิ่มจาก 22 ประเทศเมื่อปี 2011 ซึ่ง กูเตียเรซ ระบุว่า ประเทศเหล่านี้มีระดับหนี้สาธารณะน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วก็จริง แต่กลับมีต้นทุนที่ต้องจ่ายชำระคืนในสัดส่วนที่สูงกว่า“โดยเฉลี่ยแล้วประเทศในแอฟริกาต้องชำระหนี้มากกว่าสหรัฐฯ ถึง 4 เท่า และมากกว่ากลุ่มประเทศร่ำรวยในยุโรปถึง 8 เท่าตัว”

กูเตียเรซกล่าวด้วยว่าระดับหนี้ภาครัฐเป็นเครื่องมือด้านการเงินที่สำคัญ ที่จะสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาและช่วยรัฐบาลในการปกป้องและลงทุนกับประชาชนของพวกเขาได้ “แต่เมื่อประเทศทั้งหลายถูกบีบให้ต้องกู้ยืมเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ ภาระหนี้กลายเป็นกับดักที่สร้างหนี้ขึ้นมาเพิ่มอีกเรื่อย ๆ”

โดยกูเตียเรซยังได้เรียกร้องนานาประเทศสร้างเครื่องมือบริหารจัดการหนี้ที่สนับสนุนระบบการพักชำระ เงื่อนไขการกู้ยืมที่นานขึ้น และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมต่ำ ให้กับกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางที่เปราะบาง

ภาพจาก AFP